วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ตับ LIVER

ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ตับของผู้ใหญ่จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัม และที่น่าสนใจมากก็คือ ปริมาณโลหิตในร่างกายทั้งหมดซึ่งมีประมาณ 5,000 ซีซี. (5 ลิตร) จะไหลเวียนผ่านตับ 1 รอบใช้เวลาเพียง 4-5 นาทีเท่านั้น หรืออาจกล่าวให้น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกว่า ตับเป็นอวัยวะที่มีเลือดในร่างกายไหลผ่านถึงวันละ 360 รอบ คิดเป็นจำนวนเลือดที่ไหลผ่านมีปริมาณมากถึงวันละ 1,800 ลิตร (คิดเป็นน้ำหนักถึง 1.8 ตัน) ถ้าเปรียบตับเป็นเครื่องยนต์ก็ต้องถือว่าเป็นเครื่องยนต์ที่ทำงานหนักที่สุด เพราะทำงานต่อเนื่องนานหลายสิบปีโดยไม่หยุดเลย
ตับเป็นอวัยวะที่มีความแข็งแรงมาก และจะต้องทำงานไปตลอดอายุขัยของเจ้าของ ถ้าจะกล่าวถึงหน้าที่ของตับแล้วนับว่ามากมายทีเดียว ตับเป็นทั้งอวัยวะแห่งการสร้าง ซ่อมแซม ควบคุม เก็บกัก และขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งสามารถกล่าวโดยย่อดังนี้
• อวัยวะแห่งการสร้าง ตับสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สร้างโปรตีนหลายชนิดเพื่อให้ร่างกายนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างน้ำย่อยที่เรียกว่าน้ำดีไว้ใช้ย่อยอาหารในลำไส้ แม้กระทั่งสร้างหรือสังเคราะห์ไขมันเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตฮอร์โมนไว้หล่อเลี้ยงระบบต่างๆในร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น
• ตับช่วยซ่อมแซม เช่นเมื่อเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพเนื่องจากอาการของโรคเบาหวาน ตับก็จะทำหน้าที่ช่วยพยุงให้ตับอ่อนสามารถทำงานต่อไปได้ และยังช่วยฟื้นฟูเซลล์ตับอ่อนให้กลับเป็นปกติได้ด้วย ดังนั้น ถ้าตับมีสุขภาพดีการควบคุมน้ำตาลในเลือดก็จะดีตามไปด้วยเพาะตับอ่อนมีสุขภาพดีนั่นเอง โรคเบาหวานจึงเป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ถ้ามีตับที่แข็งแรง
• ตับช่วยควบคุม เช่นควบคุมการใช้พลังงานของร่างกาย ควบคุมการขับสารพิษให้ออกจากร่างกาย ควบคุมการนำสารอาหารที่ย่อยแล้วจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างเหมาะสมซึ่งเป็นกลไกที่มีความสำคัญที่สุดของการมีสุขภาพดี
• ตับช่วยเก็บกัก เช่น เก็บพลังงานไว้ใช้ในยามจำเป็นเมื่อประสบภัยอย่างกระทันหันร่างกายจะมีพละกำลังมหาศาล เช่นยกตู้เย็นวิ่งหนีไฟไหม้เป็นต้น นอกจากนั้นตับยังทำหน้าที่เก็บสะสมวิตามินและเกลือแร่มากมายไว้ให้ร่างกายได้ใช้ในทุกกิจกรรม
• ตับขับของเสียออกจากร่างกาย สารอาหารที่ย่อยแล้วถ้ามีปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ตับจะถือว่าเป็นสารพิษที่ต้องขับทิ้งออกจากร่างกาย แต่ถ้าอาหารเหล่านั้นมีปริมาณมากเกินกว่าที่ตับจะสามารถขับทิ้งได้หมดตับก็จะเฉื่อยชาและเริ่มเสื่อมสภาพ สารพิษหรืออาหารเหล่านั้นก็จะแทรกตัวเข้ากระแสเลือดเข้าสู่ร่างกาย นี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพ และนำมาซึ่งโรคภัยร้ายแรงในที่สุด เช่น เริ่มจากมีน้ำหนักตัวเกิน ไขมันในเลือดเริ่มสูง มีความดันโลหิตสูงตามมา เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ สมองขาดเลือด ต้อกระจก และโรคไตวาย ตามลำดับ และอาจมีกลุ่มอาการของโรคอื่นแทรกขึ้นมาอีกก็ได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคตับ หรือโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือโรคภูมิแพ้ เป็นต้น ตับจึงเป็นอวัยวะที่ต้องเอาใจใส่เพราะการมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุขภาพแข็งแรงนั้นต้องขึ้นอยู่กับสุขภาพของตับเป็นสำคัญ หลายคนเข้าใจผิดไปให้ความสำคัญกับสมองและหัวใจมากกว่า พยายามหาอาหารเสริมราคาแพงมาบำรุงสมอง บำรุงหัวใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วตับเป็นอวัยวะที่หล่อเลี้ยงสมองและหัวใจ การดูแลตับให้แข็งแรงมีวิธีเดียวคือการมีโภชนาการที่สมดุลและเพียงพอ กินอาหารที่ปรุงแต่งน้อยและเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด ตับต้องการพลังงานจากอาหารไม่มากเพราะตับสามารถสร้างพลังงานได้เอง แต่ตับต้องการเกลือแร่ วิตามิน สารจากธรรมชาติ ( Phyto-nutrients ) และโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้การทำงานของตับดำเนินไปอย่างสมบูรณ์ที่สุด
เราทราบว่าโดยธรรมชาติแล้วตับเป็นอวัยวะที่มีความแข็งแรงมาก เพราะกว่าจะทราบว่าตับมีปัญหาก็ต่อเมื่อร่างกายมีอาการของโรคปรากฎขึ้นแล้วทั้งนั้น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด โรคหัวใจ สมองขาดเลือด โรคมะเร็งตับ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องดูแลสุขภาพตับให้มั่นใจว่าแข็งแรงจริงๆ
ไต ได้ชื่อว่าเป็นอวัยวะที่รักษาความสมดุลของร่างกายที่ดีที่สุด คือขับของเสียออกจากร่างกาย ควบคุมระดับน้ำ เกลือแร่ และสารอื่น ๆ ที่มีมากเกินไปในร่างกาย ควบคุมโลหิต สร้างเม็ดโลหิตและควบคุมระดับของแคลเซียม และฟอสฟอรัสในเลือด ซึ่งมีผลต่อกระดูก ถ้าไตไม่ทำงานมีผลทำให้ร่างกายมีของเสียคั่งค้างอยู่มาก เซลล์ทำงานได้ไม่ปกติ มีน้ำ เกลือแร่ คั่งอยู่ในร่างกาย มีความดันโลหิตสูง โลหิตจาง กระดูกเปราะง่าย เป็นต้น และบางครั้งอาการเหล่านี้อาจทำให้เสียชีวิตได้ การเสียหน้าที่ของไต จากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เมื่อถึงระดับที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการประคับประคอง (Conservative treatment) เช่นการรับประทานยา การควบคุมเรื่องอาหาร ผู้ป่วยจะต้องได้รับการักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่หากอยู่ในขั้นระยะสุดท้าย เช่นเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จะต้องรักษาโดยการใช้การบำบัดรักษาทดแทนไต เช่น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
การดูแลรักษาทั้งตับและไตใช้วิธีเดียวกันคือ
1. กินอาหารที่มีสารอาหารสมดุล พิสูจน์มาเกือบ 10 ปีแล้วว่าผลิตภัณฑ์อาหารธัญพืชของซีเกรนทุกผลิตภัณฑ์มีส่วนทำให้ทั้งตับและไตทำงานดีขึ้นถ้ากินอย่างสม่ำเสมอ
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีแล้วพักผ่อนเพียงพอโดยเฉพาะการนอนหลับต้องให้หลับสนิทระหว่างสองยามถึงตีสี่เป็นอย่างน้อยเพราะเป็นเวลาทองที่ระบบในร่างกายกำลังซ่อมตับและไตให้แข็งแรง
3. อย่าเครียด เมื่อใดที่รู้สึกเครียดอารมณ์ไม่ปกติ พยายามแก้เครียดด้วยวิธีการต่างๆแล้วแต่จะทำได้ซึ่งมีหลายวิธี เช่น ออกจากเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดไปเลย หรือเปลี่ยนบรรยากาศ ดูหนังสนุกๆ ฟังเพลง อ่านหนังสือที่ทำให้สบายใจ ทำสมาธิ ออกกำลังกาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น